เมนู

จากนิโรธ 1 อริยมรรคจิต 1 ผลจิตที่เป็นลำดับแห่งมรรค 1 ไม่มี
อาวัชชนะย่อมเกิดได้ ฉันใด แม้เมื่ออาวัชชนะ (คือการพิจารณาอารมณ์)
ไม่มีอยู่ อเหตุกมโนวิญญาณธาตุทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นด้วยการน้อมไปด้วยความ
เคยเสพและด้วยความที่เสพอยู่เสมอ ฉันนั้น.
จริงอยู่ จิตเว้นจากอาวัชชนะ (คือการพิจารณาอารมณ์) ย่อมเกิดขึ้น
ได้ แต่จิตนั้นเว้นจากอารมณ์ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้.
ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรเล่า เป็นอารมณ์ของจิตนี้.
ตอบว่า ได้แก่ ธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในปริตธรรมมีรูปเป็นต้น
จริงอยู่ ในปริตธรรมมีรูปเป็นต้นนั้น อารมณ์ใดมาสู่คลองในสมัยนั้นนั่นแหละ
พึงทราบว่า จิตนี้เกิดขึ้นปรารภอารมณ์นั้น.
บัดนี้ เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งจิตเหล่านี้แม้ทั้งหมด ท่านจึงกล่าวนัย
ปกิณกะไว้ว่า
สุตฺตํ โทวาริโก จ คามิลโก อมฺโพ โกลิยเกน จ
ชจฺจนฺโธ ปีฐสปฺปี จ วิสยคาโห จ อุปนิสฺสยมตฺถโส

เรื่องใยแมลงมุม 1 เรื่องนายทวาร 1
เรื่องเด็กชาวบ้าน 1 เรื่องมะม่วงกับเจ้าของ
โรงหีบอ้อย 1 เรื่องชายบอดกับคนเปลี้ย 1
เรื่องการรับอารมณ์โดยอุปนิสสยปัจจัยเป็น
ประโยชน์ 1.

จิตเปรียบด้วยแมลงมุมชักใยเป็นต้น


บรรดาปกิณกนัยมีเรื่องแมลงมุมเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัย
ในคำว่า สุตฺตํ (ใยแมลงมุม) ต่อไป.

ก็แมลงมุมริมทางตัวหนึ่งขึงใยไป 5 ทิศ ทำข่ายแล้วนอนอยู่ตรงกลาง
เมื่อใยที่ขึงไปในทิศแรกถูกกระทบด้วยสัตว์เล็ก ๆ หรือตั๊กกระแตนหรือแมลงวัน
มันก็จะเคลื่อนออกจากที่เป็นที่นอนไปตามสายใยเจาะศีรษะดูดเลือดของสัตว์นั้น
แล้วกลับมานอน ณ ท่ามกลางใยนั้นนั่นแหละอีก แม้ในเวลาที่ทิศที่ 2 เป็นต้น
ถูกกระทบแล้วก็กระทำเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ
ในข้อนั้น ประสาททั้ง 5 พึงทราบว่า เหมือนใยแมลงมุมที่ขึงไป
5 ทิศ. จิตเหมือนแมลงมุมนอนในท่ามกลาง. เวลาที่อารมณ์มากระทบประสาท
เหมือนเวลาที่สัตว์เล็ก ๆ เป็นต้นมากระทบใยแมลงมุม. เวลาที่กิริยามโนธาตุ
รับอารมณ์ที่กระทบประสาทแล้วยังภวังค์ให้เปลี่ยนไป เหมือนการไหวของแมลง
มุมซึ่งนอนท่ามกลาง. ความเป็นไปของวิถีจิต เหมือนเวลาการไปตามสายใย
ของแมลงมุม. เวลาที่ชวนจิตเสพอารมณ์ เหมือนการเจาะศีรษะดูดเลือด.
การที่จิตอาศัยหทัยวัตถุเป็นไป เหมือนแมลงมุมกลับมานอนในท่ามกลางใยอีก.
ถามว่า ความอุปมานี้ ย่อมแสดงให้ทราบอะไร ?
ตอบว่า ย่อมแสดงให้ทราบว่า เมื่ออารมณ์กระทบประสาทแล้ว จิต
ที่อาศัยหทัยรูปเกิด ย่อมเกิดขึ้นก่อนกว่าจิตที่อาศัยประสาทรูปเกิด คือ ย่อม
อธิบายให้ทราบว่า อารมณ์แต่ละอารมณ์ย่อมมาสู่คลองในทวารทั้งสอง ดังนี้.

จิตเปรียบด้วยนายทวารเป็นต้น


พระราชาพระองค์หนึ่งบรรทมหลับอยู่บนแท่นบรรทม มหาดเล็กของ
พระองค์ นั่งถวายงานนวดพระยุคลบาทอยู่ มีนายทวารหูหนวกยืนอยู่ที่พระทวาร
มีทหารยามเฝ้าอยู่ 3 คน ยืนเรียงตามลำดับ ครั้งนั้น มีชาวชนบทคนหนึ่งถือ
เครื่องบรรณาการมาเคาะประตูเรียก นายทวารหูหนวกไม่ได้ยินเสียงมหาดเล็ก
ผู้ถวายงานนวดพระยุคลบาทจึงให้สัญญาณ เขาจึงเปิดประตูด้วยสัญญาณนั้น